วันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
Rebranding โรงพยาบาล
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการ rebrand เกิดขึ้นในกลุ่มของโรงพยาบาล จริงๆต้องบอกว่า ช่วงหลังนี้ โรงพยาบาลหลายๆที่ก็พยายามพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นมาก เห็นได้ชัดจากโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่มีการสร้างตึกใหม่ขึ้นมาอีก 2-3 ตึก (ไม่แน่ใจ) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่มีการสร้างตึกเพิ่มอีกหนึ่งตึก และพยายาม upgrade ความเป็น premium ของตนให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังยิงโฆษณาทาง TV โดยใช้แคมเปญว่า "ไม่ประนีประนอม" (ในความหมายคือ ไม่ประนีประนอมกับการรักษาโรค กับการดูแลเอาใจใส่ ..แต่เท่าที่ดูเหมือนว่า เค้าก็จะไม่ประนีประนอมเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยเช่นกัน -_-")
นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลที่มีการ rebrand นอกเหนือจากการสร้างตึกใหม่ ทั้งนี้เพื่อลบภาพลักษณ์ของความเป็นโรงพยาบาลเก่าๆ น่ากลัวๆ ออก แล้วเพิ่มความทันสมัย modern เข้ามาอีก เท่าที่เห็นก็มีเช่น โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลเปาโลเมมโมเรียล และโรงพยาบาลยันฮี
กล่าวมาตั้งนาน จริงๆแล้วตั้งใจอยากจะบอกว่า จากการปรับปรุงตัวโรงพยาบาลที่เห็นมาในช่วง 1-2 ปีนี้ โรงพยาบาลที่ทำให้ผมประทับใจมากก็คือโรงพยาบาลยันฮี การ rebrand ของโรงพยาบาลยันฮี คือการปรับ Logo ใหม่ ซึ่งผมเผอิญได้ไปเห็นมาเมื่อไม่นานมานี้บนถุงยาที่วางอยู่ในบ้าน
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า โรงพยาบาลยันฮีนั้นเด่นดังในเรื่องอะไร Logo ที่ทางโรงพยาบาลทำออกมาใหม่นั้น เป็นรูปคล้ายเครื่องหมายบวกเหมือนทั่วไป แต่หากมี graphic ที่เป็นรูปเหมือนประกายแสงที่เราเห็นจากหนังสือการ์ตูน
เห็นแล้วชอบเลย เพราะว่าดูแล้วชัดเจนมาก สื่อสารได้ตรงจุดตรงประเด็น และที่สำคัญยังได้ในเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ด้วย
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ทำ wireframe แบบเร็วๆ
หนึ่งในขั้นตอนการทำเว็บไซต์ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนขั้นพื้นฐานที่เราสมควรจะทำ นั่นคือขั้นตอนการวางแผน และส่วนหนึ่งของการวางแผนที่สมควรทำที่สุด (แต่เห็นน้อยคนจะทำ) นั่นคือการทำ wireframe
การทำ wireframe คือการวาดหน้าตาโครงสร้างเว็บไซต์อย่างง่ายๆ ทั้งนี้เพื่อแสดง function ที่จะมีในหน้านั้นๆ ระบบการใช้งาน การ navigate ทั้งนี้เพื่อเช็คความเรียบร้อยก่อนที่จะลงมือทำ design ต่อไป และเพราะการไปปรับที่ design ใน photoshop เลยนั้นเป็นเรื่องที่ค่อยข้างยุ่งยากและใช้เวลามาก การทำ wireframe แบบง่ายๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น designer ก็ทำได้นั้น จะช่วยลดเวลาในการทำงานไปได้มากพอสมควร
ที่ผมเห็นคนทำ wireframe ในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ tools อยู่ไม่กี่ตัว เช่น Illustrator, PowerPoint, Excel, Word, Visio
เผอิญว่าช่วงนี้ได้อ่าน magazine ชื่อ Practical Web Design Magazine ซึ่งอยู่ในเครือของ .net magazine อ่านมาได้ 2-3 เล่มแล้ว (ราคาเล่มละ 500 แพงเอาการอยู่แต่ว่าหากได้อ่านหมดก็คุ้มนะ) แล้วก็ได้ไป download podcast ของ Web design TV (WDTV) ลงมาดู เห็นว่ามีการพูดคุยถึงเรื่องของ tools ที่เอาไว้ช่วยทำ wireframe หรือ prototype
อ่านรวมๆแล้ว ได้ข้อสรุปมาประมาณ 4 ตัว ดังนี้
1. Protoshare (www.protoshare.com) เป็นเว็บไซต์ให้บริการสำหรับการทำ wireframe โดยสามารถเข้าดูได้ทั้งคนทำและลูกค้า โดยเว็บนี้จะคิดค่าบริการเป็นรายเดือนไป แล้วแต่ package
2. Axure (www.axure.com) โปรแกรม Axure สำหรับ PC เท่านั้น ตัวนี้แนะนำสุดๆ (ใน podcast ก็มีการสอนใช้โปรแกรมนี้ถึงสองตอน) ดูหน้าตาแล้วก็น่าใช้ดี ท่าทางจะใช้ง่าย
3. Balsamiq (www.Balsamiq.com) ตัวนี้เป็น application ของ AIR แต่ดูจาก interface แล้ว เหมือนว่าจะดูเด็กไปนิด
4. Flash Catalyst (http://labs.adobe.com/technologies/flashcatalyst/) โปรแกรมจาก Adobe ที่มีข่าวมาประมาณ 1ปีได้แล้วว่าจะทำการเปิดตัวออกมาพร้อมกับตัวโปรแกรม commercial อื่นๆ
ต้องบอกว่า ตอนนี้ยังไม่ได้ลองเลยซักโปรแกรมหนึ่ง แต่ว่ากำลังจะลองตัว Axure เพราะคิดว่าน่าจะ work ส่วน Protoshare นั้นมีให้ลอง 30วัน เดี๋ยวจะลองเข้าไปทดสอบดูด้วยอีกทาง ส่วนสองตัวหลัง Balsamiq กับ Flash Catalyst นั้น ดูเหมือนจะต้องรอดูกันไปก่อน เพราะว่าตัว Balsamiq นั้น interface ดูไม่น่าใช้งาน เอาไปให้ลูกค้าดูคงไม่ค่อย pro ส่วนตัว Flash Catalyst นั้น ตัวที่ใช้งานได้ยังไม่ออกมาให้เราได้ทดสอบกันเลย
** ข้อมูลจาก PodCast Web Design TV (WDTV) และ จดหมายจาก Juan Sanchez เรื่อง Planning Tools จาก Practical Web Design Magazine ฉบับที่ 185 เดือนกุมภาพันธ์ 2552 **
การทำ wireframe คือการวาดหน้าตาโครงสร้างเว็บไซต์อย่างง่ายๆ ทั้งนี้เพื่อแสดง function ที่จะมีในหน้านั้นๆ ระบบการใช้งาน การ navigate ทั้งนี้เพื่อเช็คความเรียบร้อยก่อนที่จะลงมือทำ design ต่อไป และเพราะการไปปรับที่ design ใน photoshop เลยนั้นเป็นเรื่องที่ค่อยข้างยุ่งยากและใช้เวลามาก การทำ wireframe แบบง่ายๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น designer ก็ทำได้นั้น จะช่วยลดเวลาในการทำงานไปได้มากพอสมควร
ที่ผมเห็นคนทำ wireframe ในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ tools อยู่ไม่กี่ตัว เช่น Illustrator, PowerPoint, Excel, Word, Visio
เผอิญว่าช่วงนี้ได้อ่าน magazine ชื่อ Practical Web Design Magazine ซึ่งอยู่ในเครือของ .net magazine อ่านมาได้ 2-3 เล่มแล้ว (ราคาเล่มละ 500 แพงเอาการอยู่แต่ว่าหากได้อ่านหมดก็คุ้มนะ) แล้วก็ได้ไป download podcast ของ Web design TV (WDTV) ลงมาดู เห็นว่ามีการพูดคุยถึงเรื่องของ tools ที่เอาไว้ช่วยทำ wireframe หรือ prototype
อ่านรวมๆแล้ว ได้ข้อสรุปมาประมาณ 4 ตัว ดังนี้
1. Protoshare (www.protoshare.com) เป็นเว็บไซต์ให้บริการสำหรับการทำ wireframe โดยสามารถเข้าดูได้ทั้งคนทำและลูกค้า โดยเว็บนี้จะคิดค่าบริการเป็นรายเดือนไป แล้วแต่ package
2. Axure (www.axure.com) โปรแกรม Axure สำหรับ PC เท่านั้น ตัวนี้แนะนำสุดๆ (ใน podcast ก็มีการสอนใช้โปรแกรมนี้ถึงสองตอน) ดูหน้าตาแล้วก็น่าใช้ดี ท่าทางจะใช้ง่าย
3. Balsamiq (www.Balsamiq.com) ตัวนี้เป็น application ของ AIR แต่ดูจาก interface แล้ว เหมือนว่าจะดูเด็กไปนิด
4. Flash Catalyst (http://labs.adobe.com/technologies/flashcatalyst/) โปรแกรมจาก Adobe ที่มีข่าวมาประมาณ 1ปีได้แล้วว่าจะทำการเปิดตัวออกมาพร้อมกับตัวโปรแกรม commercial อื่นๆ
ต้องบอกว่า ตอนนี้ยังไม่ได้ลองเลยซักโปรแกรมหนึ่ง แต่ว่ากำลังจะลองตัว Axure เพราะคิดว่าน่าจะ work ส่วน Protoshare นั้นมีให้ลอง 30วัน เดี๋ยวจะลองเข้าไปทดสอบดูด้วยอีกทาง ส่วนสองตัวหลัง Balsamiq กับ Flash Catalyst นั้น ดูเหมือนจะต้องรอดูกันไปก่อน เพราะว่าตัว Balsamiq นั้น interface ดูไม่น่าใช้งาน เอาไปให้ลูกค้าดูคงไม่ค่อย pro ส่วนตัว Flash Catalyst นั้น ตัวที่ใช้งานได้ยังไม่ออกมาให้เราได้ทดสอบกันเลย
** ข้อมูลจาก PodCast Web Design TV (WDTV) และ จดหมายจาก Juan Sanchez เรื่อง Planning Tools จาก Practical Web Design Magazine ฉบับที่ 185 เดือนกุมภาพันธ์ 2552 **
วันอังคารที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จีวร "เมตตาคุณ"
เผอิญเดินอยู่ริมถนน บนฟุตบาท แล้วก็เหลือบไปเจอป้าย banner อันนี้เข้า เลยหยุดอ่าน "จีวร เมตตาคุณ" "การไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ถือเป็นกุศลอันประเสริฐ ด้วยเทคโนโลยีไล่ยุงที่บรรจุอยู่ในผ้าไตรเมตตาคุณ"
เจอแล้วเห็นว่าเจ๋งดี
เดี๋ยวนี้เป็นพระ ก็ต้องใช้เทคโนโลยี ใส่สารในจีวร ทำให้ยุงไม่อยากเข้ามากล้ำกลาย
ก็ทำให้เพิ่งจะนึกได้ว่า ตอนเป็นพระนี่ ยุงก็ถามหาเยอะเหมือนกัน ตอนนั้นเราก็ได้แต่นั่งทำใจว่า "นี่เป็นการทำบุญ"
วันจันทร์ที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
Quicktime Listening Party
วันนี้เข้าไป check facebook แล้วพบว่า นักร้องเพลง Jazz ที่ผมชื่นชอบเธอออกอัลบั้มใหม่
เหตุที่รู้ก็เพราะว่าผมได้เป็นสมาชิก แฟนคลับของเธอใน facebook จึงทำให้เวลาเธอมี update อะไรก็ตาม เช่น การออกอัลบั้มใหม่อย่างนี้ ก็จะมีข้อมูล feed มาถึงหน้าแรกของ facebook ให้ได้รู้กัน ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไร ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะวันนี้ได้เจอสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า "Listening Party"
ประมาณว่า เพื่อทดลองฟังเพลงอัลบั้มใหม่ของ Diana Krall ชุด Quiet Night ก็สามารถลองไปฟังกันได้แบบเต็มๆ กันได้ที่นี่
เมื่อกดเข้าไปตาม link แล้วก็เห็นว่ามีรายชื่อเพลงในอัลบั้มทั้งหมด และสามารถฟังกันได้แบบเต็มๆ ไม่มีกั๊ก
จริงๆแล้ว ฟังดูก็เหมือนว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาที่เราก็หาฟังกันได้ทั่วไป ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ผมกลับชอบคำว่า "Listening Party" เพราะฟังดูแล้วน่าสนุก น่าค้นหาว่าที่นี่มีอะไร
อย่างน้อยๆ ประโยคนี้ก็ทำให้ผมเข้าไปจนถึงทุกๆหน้าของ site นี้
เหตุที่รู้ก็เพราะว่าผมได้เป็นสมาชิก แฟนคลับของเธอใน facebook จึงทำให้เวลาเธอมี update อะไรก็ตาม เช่น การออกอัลบั้มใหม่อย่างนี้ ก็จะมีข้อมูล feed มาถึงหน้าแรกของ facebook ให้ได้รู้กัน ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไร ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะวันนี้ได้เจอสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า "Listening Party"
ประมาณว่า เพื่อทดลองฟังเพลงอัลบั้มใหม่ของ Diana Krall ชุด Quiet Night ก็สามารถลองไปฟังกันได้แบบเต็มๆ กันได้ที่นี่
เมื่อกดเข้าไปตาม link แล้วก็เห็นว่ามีรายชื่อเพลงในอัลบั้มทั้งหมด และสามารถฟังกันได้แบบเต็มๆ ไม่มีกั๊ก
จริงๆแล้ว ฟังดูก็เหมือนว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาที่เราก็หาฟังกันได้ทั่วไป ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ผมกลับชอบคำว่า "Listening Party" เพราะฟังดูแล้วน่าสนุก น่าค้นหาว่าที่นี่มีอะไร
อย่างน้อยๆ ประโยคนี้ก็ทำให้ผมเข้าไปจนถึงทุกๆหน้าของ site นี้
วันพฤหัสบดีที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
mPAY Station เว็บไซต์นำโดย designer น๊อต จาก rgb72 จริงๆต้องบอกว่างานนี้ launch ตั้งแต่เมื่อต้นเดือนมีนาคมแล้ว แต่ว่าต้องขออภัยที่มา update ให้ช้า (ช้าจนไอ้คุณ designer เค้าแอบงอน)
mPAY หนึ่งในลูกค้าเหนียวแน่นหนึบของ rgb72 เราได้เริ่มงานกับทีมงานของ mPAY ตั้งแต่เว็บไซต์หลัก mPAY.co.th เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้ร่วมแคมเปญดีดีหลากหลายโครงการ และทำระบบด้านหลังให้ลูกค้าสามารถจัดการกับข้อมูลและ member ได้เอง อย่างไรก็ตาม ทาง rgb72 ก็ยังคงอยู่เบื้องหลังในการ update content ต่างๆ โดยหน่วยพิเศษงานไม่ late (มีบ้างก็นิดเดียวนะ) อย่างคุณ อู ที่อยู่กับ rgb72 ตั้งแต่สมัย ewit co.,ltd. .. ทำให้การทำเว็บไซต์ใหม่ของ mPAY ซึ่งถือว่าเป็น sub อย่าง mPAY Station นั่นเป็นสิ่งที่เราค่อนข้างคุ้นเคย
การออกแบบนั้นทางทีมได้รับ requirement ที่แตกต่างออกไปจาก concept หลักของ mPAY นั่นคือ สีหลักของงานนี้ ทางลูกค้ามีความต้องการให้เป็นสีชมพูตาม CI ของ Logo
ตัว layout design นั้น ได้รับอิทธิพลมาพอสมควรจากตัวเว็บ mpay.co.th เนื่องจากเป็นความต้องการของลูกค้าที่ต้องการให้ลูกค้าคุ้นเคยกับ layout เดิมที่มีอยู่และสามารถใช้งานในเว็บไซต์ใหม่นีได้อย่างง่ายดาย ไม่สับสน และเนื่องจากเว็บไซต์นี้ต้องการนำเสนอข้อมูลเป็นหลัก การออกแบบจึงจำเป็นต้องเน้นสีและการวางพื้นที่ให้สบายตา น่าอ่าน อย่างไรก็ตาม การนำรูปภาพเข้ามาใช้ทางด้านบน ก็เพื่อมาช่วยแต่งแต้มสีสันให้ดูดีน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
เว็บไซต์ mPAYstation ได้รับ requirement ให้สามารถ launch ได้ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน ซึ่งทางทีมสามารถจัดสรรให้เป็นไปได้ตาม request (โดยประมาณ) ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งงานดีดีที่เราสร้างให้กับลูกค้าที่คุ้นเคยได้ประทับใจกันอีกครั้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)